Print this page

เทศบาลเมืองยโสธร ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในวัน "วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" ประจำปี 2567

วันเสาร์, 28 ธันวาคม 2567 14:37

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2567 เวลา 07.30 น.

นายสมชัย บูรณะ ปลัดจังหวัดยโสธร เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในวัน "วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" ประจำปี 2567 โดยในการนี้ นายณัฐพล นาคสุข นายกฯเทศมนตรีเมืองยโสธร ได้มอบหมายให้ ดร.นุชิดา สุวแพทย์ รองนายกเทศมนตรีเมืองยโสธร นำพนักงานและเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองยโสธร เข้าร่วมพิธี ณ หอประชุมจังหวัดยโสธร ศาลากลางจังหวัดยโสธร โดยมี พระเทพวงศาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดยโสธร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทั้งนี้ พิธีเริ่มจากพระเทพวงศาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดยโสธร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นำสวดพระพุทธมนต์ ปลัดจังหวัดยโสธร พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ถวายเครื่องไทยธรรม ทอดผ้าไตร พระสงฆ์อนุโมทนา และกรวดน้ำตามลำดับ จากนั้น ประธานฯ นำผู้เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งพระสงฆ์และสามเณร จำนวน 48 รูป เพื่อถวายพระราชกุศลและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชจนดำรงเป็นชาติไทยมาตราบจนเท่าทุกวันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระนามเดิมชื่อ "สิน" ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2277บิดาเป็นชาวจีนชื่อ "ไหฮอง" มารดาชื่อ "นกเอี้ยง" ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในการศึกเป็นอย่างยิ่ง ฉลาดเป็นเลิศ มีความมานะอดทนกล้าหาญจึงเจริญในตำแหน่งหน้าที่สำคัญ ๆ ตามลำดับ คืบ คือ เป็นพระยาตาก เจ้าเมืองตาก ได้เลื่อนเป็นพระยาวชิรปราการ สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ แต่ยังมิทันได้ไปปกครองเมือง พม่าก็ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา จึงอยู่ช่วยราชการในเมืองหลวง ทรงบัญชาการการสู้รบกับพม่าอย่างเข้มแข็ง พม่าต้องล่าถอยกลับไปหลายครา หลังจากนั้น 6 เดือน พม่าได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาอีก และเนื่องจากบ้านเมืองระส่ำระสายไพร่พลอิดโรย ขาดเสบียงอาหาร และขาดศาสตราวุธ ในที่สุดก็เสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2310 พระยาตากจึงรวบรวมสมัครพรรคพวกได้ประมาณ 500 คน ตีฝ้าวงล้อมออกจากกรุงศรีอยุธยามุ่งมายังหัวเมืองตะวันออกเข้าตีเมืองจันทบุรีได้และตั้งทัพอยู่ที่จันทบุรีและเคลื่อนทัพมายังเมืองตราด เพื่อรวมไพล่พลพลและอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อกลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา พระราชกรณียกิจที่สำคัญที่ทำให้ได้รับสมัญญาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคือ พระราชกรณียกิจการกอบกู้เอกราช พระองค์ทรงใช้เวลา 5 เดือนเศษในการรวบรวมไพร่พล ทรงยกทัพไปต่อสู้กับพม่าซึ่งตั้งอยู่ ค่ายโพธิ์สามต้น ธนบุรี และได้รับชัยชนะในที่สุดเป็นการกอบกู้อิสรภาพของชาติไทยกลับคืนมา เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2310 หลังจากเสียกรุงแก่พม่าเพียง 7 เดือน พระองค์ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรม 4 ค่ำ ปีชวด จุลศักราช 1129 ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม 2310 ทรงพระนามว่า “ พระศรีสรรเพชร หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 “ แต่เรียกขานกันทั่วไปตามพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากได้รับการสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานี และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 เมื่อพระชนมายุได้ 48 พรรษา รวมระยะเวลาทรงครองราชย์ 15 ปี ด้วยพระมหากรุณาริคุณ อันหาที่สุดมิได้แห่งองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คณะรัฐมนตรีได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ให้เป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" เพื่อยกย่องพระองค์เป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของชาติไทย ผู้กอบกู้เอกราชให้ชาติไทย ..///

เทศบาลเมืองยโสธร โทร 045-711397